ตราสัญลักษณ์โรงเรียนแสนสุข
อักษรย่อโรงเรียน คือ ส.ส.
รูปเรือใบ คือ แทนการก้าวหน้าอย่างกล้าหาญในการทำอาชีพ
คลื่น 4 คลื่น คือ น้ำใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
น้ำคำ คือ วาจาที่ไพเราะ อ่อนหวาน
น้ำมือ ฝืมือในการทำงาน น้ำ แทนความเยือกเย็น
หินหรือภูเขา คือ ความหนักแน่น เข้มแข็ง
ต้นไม้ คือ ความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เหมือนกิ่งก้านสาขาต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น
สีฟ้า คือ สีฟ้าแห่งน้ำทะเล
สีขาว คือ สีแห่งความบริสุทธิ์และคุณธรรมทั้งหลาย
✨ ข้อมูลทั่วไป ✨
รหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1020080311
รหัส Smis 8 หลัก : 20012004
รหัส Obec 6 หลัก : 080311
ชื่อสถานศึกษา(ไทย) : แสนสุข
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) : Saensuk
ที่อยู่ : หมู่ที่ - บ้านเลขที่ 2 ซอย 3 ถนนมิตรสัมพันธ์ ตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20130
โทรศัพท์ : 038-381669
โทรสาร : 038-382550
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์ : www.saensuk.ac.th , เว็บไซต์โรงเรียน (สารสนเทศ)
ระดับที่เปิดสอน : มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
วัน/เดือน/ปี ก่อตั้ง : 11 กุมภาพันธ์ 2499
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : เทศบาลเมืองแสนสุข
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 : 4 กม.
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอ : 12 กม.
⏰ ประวัติโรงเรียนแสนสุข ⏰
โรงเรียนแสนสุขเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2499 โดยแนวความคิดของนายสุวิทย์ ชลิตาภรณ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดกลางดอนโดยได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากพระผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครอง พ่อค้า และประชาชนทั้งช่วยกันบริจาคที่ดินและจัดหาทุนทรัพย์ และจัดหางบประมาณทำให้โรงเรียนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วถึงปัจจุบันนี้และในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนแสนสุข ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนแสนสุข เป็น “โรงเรียนชลกันยานูกูล แสนสุข” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 โดยมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 57 ปี ...เพิ่มเติม
⛲ ลักษณะภูมิประเทศ ⛲
โรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ ร่มรื่นไปด้วยพันธ์ไม้ต่างๆ บริเวณภายในโรงเรียนมีถนนคอนกรีตเชื่อมโยงตั้งแต่หน้าประตูโรงเรียนไปทั่วบริเวณโรงเรียน โดยมีรั้วคอนกรีตรอบบริเวณโรงเรียน ระบบสาธารณูปโภคใช้ประปาจากประปาส่วนภูมิภาคชลบุรี และไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบางแสน ลักษณะสภาพทางเศรษฐกิจ โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่าหนองมน และชายหาดบางแสน ที่มีทางหลวงระดับประเทศ คือถนนสุขุมวิทผ่านชุมชนและโรงเรียน ประชากรที่อยู่ในบริเวณชุมชนนี้ประกอบอาชีพค้าขาย อาชีพทำประมง และรับจ้างจึงทำให้นักเรียนของโรงเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ทำการประมง ส่วนที่เหลือจะเป็นอาชีพพนักงานและรับราชการเป็นส่วนน้อย โดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนของโรงเรียนจะมาจากครอบครัวที่มีฐานะปานกลางจนถึงมีฐานะยากจนเป็นส่วนมากลักษณะสภาพสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ และเป็นที่ท่องเที่ยวของจังหวัด โดยมีชื่อเสียงในด้านอาหารประจำท้องถิ่น เช่น ข้าวหลาม อาหารทะเลต่างๆ เป็นต้น และมีประเพณีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง เช่น ประเพณีวันไหลบางแสน ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น จึงทำให้โรงเรียนมีกิจกรรมทำร่วมกับชุมชนอยู่เสมอเป็นประจำทุกปี
⛅ ที่ตั้งโรงเรียน ⛅
แผนผังอาคารโรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี
✍ วิสัยทัศน์
โรงเรียนแสนสุขจัดการศึกษาได้มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 น้อมนำศาสตร์พระราชาเสริมสร้างคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ อยู่อย่างปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผู้เรียนมีสมรรถนะการทำงานที่สอดคล้องกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
✍ พันธกิจ
1. ส่งเสริม พัฒนาระบบการบริหารจัดการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยระบบคุณภาพ พัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาองค์กรให้เป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
2. ส่งเสริม พัฒนางานวิชาการ จัดการเรียนสู่คุณภาพตามมาตรฐานบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติงาน
4. ส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน และระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริม ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และสังคมโลก
✍ เป้าประสงค์
1. มีระบบบริหารการจัดการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
2. นำหลักปรัชฐาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการส่งเสริมพัฒนางานวิชาการ การจัดการเรียนอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม นำหลักเศษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ละปฏิบัติงาน
4. ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พัฒนาตนเอง เต็มตามความรู้ความสามารถและเต็มตามศักยภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน และระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
5. โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดี กับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสังคม เน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
⚡ ปรัชญา : การศึกษาเป็นรากฐานของชีวิต
⚡ คำขวัญ : มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ใจเรียน
⚡ คติพจน์ : ปญญา นรานํ รตนํ (ปัญญาเป็นแก้วสารพัดนึกของนรชน)
⏺ต้นไม้ประจำโรงเรียน⏺
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnca (L.) Soland. EX Correa
- ชื่อสามัญ : Mallow tree, Portia Tree, Cork Tree, Rosewood of Seychelles, Tulip Tree
- วงศ์ : MALVACEAE (The Mallow Family)
- ชื่ออื่น ๆ : บากู (มาลายู, นราธิวาส, ปัตตานี), บ่อน้ำ, ปอมัดไทร, ปอกระหมัดไพร,โพธิ์ทะเล (ไทย)
- ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้น จะแตกกิ่งก้านสาขาโยกหยักไปหยักมา มีลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ๆ และเปลือกจะเรียบเกลี้ยง มีลักษณะของต้นคล้ายกับต้นโพ ลำต้นจะสูงประมาณ 10 - 15 เมตร ใบ ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบโพด้วย ใบจะแตกออกเป็นพุ่มหนาแน่น ออกใบเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบจะแข็ง ตรงปลายใบจะไม่มีติ่งแหลมยาวอย่างใบโพ ใบจะมีสีเขียวเป็นมัน ขนาดของใบนั้นจะยาวประมาณ 3 - 5.5 นิ้ว ดอก มีสีเหลือง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกฝ้าย แต่ดอกจะไม่บานอ้าเต็มที่ จะบานกว้างประมาณ 3 นิ้ว วงในดอกจะเป็นสีม่วงคล้ำ ดอกจะมีอยู่ 5 กลีบ เกสรที่อยู่ในดอกนั้นจะโผล่ออกมาคล้ายกับดอกชบา เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีริ้วสีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อยเนื้อละเอียดพอประมาณ เหนียวมากแข็งทนทาน เลื่อยไสกบตกแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี น้ำหนักเนื้อไม้ต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต ประมาณ 48 - 53 ปอนด์แหล่งที่เกิดหรือแหล่งที่พบขึ้นตามป่าชายทะเลทั่วไป พบบริเวณใกล้ป่าชายเลน
- ประโยชน์ : ผลและใบตำให้ละเอียดใช้พอกแก้หิดได้ เปลือกต้มกับน้ำแล้วนำไปล้างทำความ สะอาดแผลเรื้อรังได้ รากอ่อนใช้รับประทานเป็นยาบำรุง
แหล่งที่มาของข้อมูล : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย (เล่มที่ 2). 2530 หน้า 613 กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ 2530 กฤษเดช สุภาพไพบูรณ์และจิตต์ คงแสงไทย. พรรณไม้สมุนไพรในป่าชายเลน. รายงานการสัมมนาระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน ครั้งที่ 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 7 - 11 กรกฎาคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2525. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ตรี กกกำแหง เรื่อง ไม้ที่มีประโยชน์ของประเทศไทย.หน้า 89 - 90. 2516