เดิมโรงเรียนชลกันยานุกูล แสนสุข ชื่อว่า โรงเรียนแสนสุข โดยตั้งอยู่ในบริเวณวัดแจ้งเจริญดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นโรงเรียนของสังกัดกองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
|
แรกเริ่มที่กำเนิดโรงเรียนนี้ มีมูลเหตุมาจากความคิดของ นายสุวิทย์ ชลิตาภรณ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดแจ้งเจริญดอน ซึ่งเห็นว่าเด็กๆ ในตำบลแสนสุขที่จบการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา ในปีหนึ่งๆ มีจำนวนมาก ประกอบกับโรงเรียนวัดแจ้งเจริญดอนก็ได้เปิดสอนชั้นมัธยม สามัญปีที่ 1-2-3 (ชั้นประถมปีที่ 4-5-6) อยู่แล้ว เมื่อเด็กเรียนจบชั้นมัธยมสามัญปีที่ 3 แล้วบางคนไม่มีโอกาสไปศึกษาต่อในจังหวัด |
|
อันเนื่องมาจากฐานะของผู้ปกครอง จึงได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับสมาคมครูและผู้ปกครอง ซึ่งในขณะนั้นมี กำนันวิสัย อูนากูล เป็นนายกสมาคม และต่างก็ได้ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน จึงทำหนังสือเสนอ ต่อทางราชการ เพื่อขอเปิดโรงเรียนมัธยมปีที่ 4-5-6 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2499 เปิดสอน ชั้นมัธยมปีที่ 4 เพียงห้องเดียว โดยอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดแจ้งเจริญดอน และใช้ชื่อว่า "โรงเรียนแสนสุข" มีอักษรย่อปักอกเสื้อเครื่องแบบนักเรียนว่า "ช.บ. 43" (ต่อมาใช้อักษรย่อ "ส.ส.") และให้นายสุวิทย์ ชลิตาภรณ์ ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่ |
|
พ.ศ.2502 |
ได้รับงบประมาณจากกรมวิสามัญเป็นเงิน 80,000 บาท(แปดหมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนตามแบบกรมวิสามัญ มี 4 ห้องเรียน ไม่ได้ทาสี เมื่อสร้างเสร็จ ทางสมาคมครูและผู้ปกครอง พร้อมคณะครูได้ร่วมกัน จัดหาเงินเพื่อใช้จ่ายในการ ติดตั้งไฟฟ้าครบทั้ง 4 ห้องเรียน ได้เปิดใช้อาคารเมื่อ พ.ศ.2503 โดยมีครูทั้งสิ้น จำนวน 3 คน คือ |
1. นายแสวง ภัทรพิศาล |
|
2. นายประมวล แช่มภักดี |
|
3. นายประเสริฐ มงคล |
|
พ.ศ.2505 |
มีครูเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5 คน คือ นายนัฐพงษ์ กนะกาศัย และ นายวิโรจน์ ฐิติวร |
พ.ศ.2509 |
ได้ขยายชั้นเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็น 2 ห้องเรียน จีงมีห้องเรียนเป็น 2-1-1 และในปีนี้เองรัฐบาลได้โอนโรงเรียน ประชาบาล ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษายังคงสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิมและกรมวิสามัญได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายแสวง ภัทรพิศาล รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน นายสุวิทย์ ชลิตาภรณ์ |
1 ต.ค.2511 |
นายแสวง ภัทรพิศาล ได้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนแสนสุข และได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม เป็นเงิน 240,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) พร้อมบ้านพักครูอีกจำนวน 1 หลังเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และจากจำนวนห้อง 3-2-2 เป็น 3-3-2 |
พ.ศ.2513 |
เปิดชั้นเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 4-3-2 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 2 หลัง เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) |
พ.ศ.2514 |
ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) และในปีนี้เอง กรมสามัญศึกษาได้มี คำสั่งให้ นายแสวง ภัทรพิศาล ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านบึง"อุตสาหกรรมนุเคราะห์" และให้ นายนัฐพงษ์ กนะกาศัย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2515 |
1 ก.พ.2515 |
กรมวิสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้ นายปรีดา แก้วจินดา ครูโทโรงเรียนชลราษฎรอำรุง มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนแสนสุข ซึ่งคณะนั้นมีครู-อาจารย์ รวมทั้งสิ้น 17 คนเนื่องจากบริเวณที่ตั้งอาคารเรียนในขณะนั้นมีเนื้อที่น้อยไม่สามารถ ขยายอาคารเรียน อาคารประกอบอื่นๆได้ จำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการจัดหา ที่ดินสำหรับขยายโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย |
1. นายเฉลิม ศรีสมโพธิ์ |
|
2. นายสุวิทย์ ชลิตาภรณ์ |
|
3. นายประชา ศรีวิสุทธิ์ |
|
4. นายปรีดา แก้วจินดา |
|
5. นายกมล กระแจะจันทร์ |
|
พ.ศ.2516 |
คณะกรรมการดังกล่าวได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดิน เพื่อย้ายโรงเรียนไปสร้าง ณ ที่แห่งใหม่ อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ 800 เมตร อยู่ติดกับอาณาเขตวัดบางเป้งเป็นเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ท่านพระครูพรหมจริยาธิมุตติ์(หลวงพ่อกุหลาบ หรือ อาจารย์หลาบ) เจ้าอาวาสวัดบางเป้งในขณะนั้น มอบที่ดินส่วนตัวอีกจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา ซึ่งจำนวนที่ดินทั้งหมดก็ยังไม่พอสร้างโรงเรียนได้ท่านพระครูพรหมจริยาธิมุตติ์ จึงอนุญาตให้ใช้ที่ธรณีสงฆ์ของวัดบางเป้งอีก 4 ไร่ 24 ตารางวา รวมเป็น 21 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา |
พ.ศ.2518 |
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนหลังแรก แบบ418 ค. เป็นเงิน 3,600,000 บาท พร้อมงบประมาณสำหรับห้องส้วมนักเรียน บ้านพักภารโรง และบ้านพักครู อย่างละ 2 หลัง ระหว่างก่อสร้างนี้เอง นายปรีดา แก้วจินดา ถึงแก่กรรม นายประเสริฐ มงคล ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการตำแหน่งครูใหญ่ |
พ.ศ.2519 |
สิ่งก่อสร้างชุดแรกแล้วเสร็จ นายปราศรัย ชลวาสิน ซึ่งมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ก็ดำเนินการขนย้ายทรัพย์สินมายังโรงเรียน แห่งใหม่ เลขที่ 92 หมู่ 1 ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 ในปีเดียวกันนี้ กำนันสมชาย คุณปลื้ม ได้บริจาคเงินสร้างเสาธงให้โรงเรียน และมีการต่อเติม ห้องใต้อาคารเรียนใช้เป็นห้องสมุด 1 ห้อง |
พ.ศ.2520 |
พระครูพิพัฒน์ศีลคุณ(อาจารย์บัว) เจ้าคณะตำบลแสนสุขและเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง มอบที่ดินธรณีสงฆ์ให้ใช้ในกิจการโรงเรียน เป็นเนื้อที่จำนวน 12 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา |
ปีงบประมาณ 2521 |
ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 418 ค. (318 ล.) ครึ่งหลัง มี 9 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,900,000 บาท |
พ.ศ.2525 |
เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
พ.ศ.2527 |
กำนันสมชาย คุณปลื้ม บริจาคที่ดินด้านทิศตะวันตกของโรงเรียนให้ จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา |
พ.ศ.2531 |
ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 418 ค.(318 ล.) อีกครึ่งหลัง 9 ห้องเรียน เป็นเงิน 2,750,000 บาท (รวมเป็นอาคารเรียนหลังที่2) ให้ใช้เป็นอาคารเรียนได้ ในปีการศึกษา 2532 |
พ.ศ.2534 |
โรงเรียนแสนสุขได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับ รางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา 2534 |
พ.ศ.2535 |
นายชม พิมพ์สกุล มอบที่ดินที่อยู่ติดกับเขตโรงเรียนให้โรงเรียนแสนสุข จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 5 ตารางวา รวมเป็นพื้นที่ โรงเรียนทั้งสิ้น 37 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา |
พ.ศ.2543 |
ได้รับงบประมาณเหลือจ่าย จากกรมสามัญศึกษา เป็นค่าก่อสร้างอาคารหอประชุม โรงอาหาร แบบ 100/27 วงเงิน 4,240,000 บาท โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2543 และแล้วเสร็จในเดือน มิถุนายน 2544 |
พ.ศ.2544 |
|
พ.ศ.2545 |
|
พ.ศ.2546 |
|
พ.ศ.2547 |
|
8 ตุลาคม 2547 |
โรงเรียนแสนสุข ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก " โรงเรียนแสนสุข " เปลี่ยนเป็น " โรงเรียนชลกันยานุกูล แสนสุข " ใช้ อักษรย่อ ช.น.ส. |
พ.ศ.2548 |
|